วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โลจิสติกส์ ม.บูรพา

การจัดการ(โลจิสต์) Vs วิศวะ(โลจิสต์)


           
สถาบันที่เปิดสอนโลจิสติกส์ ในประเทศไทย นั้น
ปัจจุบัน มีการเปิดสอนหลายสถาบันเพิ่มขึ้น
ซึ่งเรา สามารถแบ่ง โลจิสติกส์ เป็น การจัดการโลจิสติกส์ และ วิศวกรรมโลจิสติกส์
และมักจะเป็นคำถาม ยอดนิยมว่า... " มันต่างกันยังไง? "
และ มักจะมีคำถามอีกว่า " ต้องมีคุณสมบัติอะไร ยังไง ต้องเก่งอะไรหรือปล่าว? "


การขนส่งและโลจิสติกส์

        
 โลจิสติกส์ ( logistics ) หมายถึง กิจกรรมที่มีการเคลื่อนย้าย จัดเก็บ จากอีกที่หนึ่ง ไปยังอีกที่หนึ่ง อาจมีการจัดเก็บระยะเวลานาน หรือระยะเวลาชั่วคราว เช่น เอกสาร สินค้าสำเร็จรูป วัตถุดิบ และอื่นๆ โดยโลจิสติกส์ มีศาสตร์ แขนงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ศาสตร์ ดังนี้...

 1. วิศวกรรมศาสตร์ ในส่วนวิศวกรรมศาสตร์นี้ จะมีสาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ ( Industrial Engineering ) และสาขาวิศวกรรมโยธา ( Civil Engineering ) โดยสาขานี้ จะคำนึงถึงกิจกรรมในการเคลื่อนย้ายสินค้าเป็นหลัก เพื่อให้การขนส่งสินค้านั้น มีประสิทธิภาพสูงสุด ใช้ทรัพยากรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเชื้อเพลิง หรือเวลาในการขนส่งน้อยที่สุด

     2. บริหารธุรกิจ สาขานี้จะมองในเรื่องของการขนส่งทั้งในและระหว่างประเทศ โดยจะพิจารณา ภาษี กฎหมาย ค่าระวาง นโยบายหรือยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิสติกส์ของแต่ละพื้นที่ แต่ละประเทศ และการค้าระหว่างประเทศ เพื่อนำมาประกอบการวางแผนการขนส่งสินค้าไปยังแต่ละพื้นที่และประเทศต่างๆ
     3. การจัดการสารสนเทศ ซึ่งจะศึกษาในส่วนของ software และ hardware นำมาควบรวมกันเป็น solution หรือบริการที่จะช่วยให้การดำเนินกิจกรรมทางโลจิสติกส์มีความคล่องตัวมากขึ้น




















1 ความคิดเห็น: